nuffnang

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคล

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคล

บุคคลแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1. บุคคลธรรมดา หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถ มีสิทธิประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย

2. นิติบุคคล หมายถึงบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น มีสิทธิประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ได้แก่ วัด มูลนิธิ สมาคม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทบวงการเมือง (กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล จังหวัด)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคลสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

1. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร์ ได้แก่

1.1 การแจ้งคนเกิด ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วันตั้งแต่เกิด

1.2 การแจ้งคนตาย ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 24 ชั่วโมง

1.3 การแจ้งย้ายที่อยู่ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายออก

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน ได้แก่

2.1 บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

2.2 บัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้ได้ 6 ปี นับแต่วันออกบัตร และเมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หรือก่อนวันหมดอายุบัตร 60 วัน

3. กฎหมายที่เกี่ยวกับการับราชการทหาร ได้แก่

3.1 ชายที่มีสัญชาติไทยมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน

3.2 ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีใน พ.ศ. ใดให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในปี พ.ศ. นั้น ณ ภูมิลำเนาของตน

3.3 ทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีในปี พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่ อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนภายในปี พ.ศ. นั้น เมื่อรับหมายเรียกแล้วทหารกองเกินต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจ เลือกตามกำหนดนัด โดยนำใบสำคัญทหารกองเกิน บัตรประจำตัวประชาชน และประกาศนียบัตรหรือหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย

4. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญา

4.1 นิติกรรม หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคลที่ จะกระทำชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัคร ใจเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับใช้ซึ่งสิทธิ นิติกรรมที่สมบูรณ์นั้นผู้ทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรม โดยชอบธรรมของบุคคลคนเดียว

4.2 สัญญา หมายถึงการแสดงเจตนาของบุคคล 2 คนที่ ต้องตรงกัน เช่น สัญญาจ่งแรงงงาน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น สัญญาจะเป็นนิติกรรมเสมอ แต่นิติกรรมอาจไม่ใช่สัญญา เช่น การทำพินัยกรรม การโฆษณา การให้คำมั่นว่าจะทำให้ได้ ฯลฯ

กฎหมาย ประเภทนี้เป็นกฎหมายที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อควบคุมป้องกันมิให้ประชาชนทำสัญญาเอา รัดเอาเปรียบกัน หรือทำความตกลงกันในเรื่องที่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

แหล่งที่มา : http://schoolnet.nectec.or.th/library/create-web/10000/generality/10000-6738.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น