nuffnang

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับครอบครัว

ครอบครัว คือ บุคคลที่มาอยู่รวมกันโดยความผูกพันกัน โดยการสมรส และทางสายโลหิต ซึ่งประกอบด้วยสามี ภรรยา บุตร และญาติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับครอบครัวแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ กฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

1. กฎหมายครอบครัว มีสาระสำคัญดังนี้

1.1 การหมั้น จะทำได้เมื่อหญิงชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

1.2 การสมรส จะทำได้เมื่อชายหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนหน้านั้นก็ได้ สำหรับหญิงที่เคยสมรสแล้วแต่สามีตายหรือหย่าร้าง จะสมรสใหม่ได้เมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่จะสมรสกับคู่สมรสเดิม

1.3 การหย่า ทำได้ 2 วิธี คือ หย่าที่อำเภอในกรณีที่คู่สมรสยินยอมพร้อมใจกันแต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ฟ้องหย่าต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาหย่าได้

1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา ในด้านความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้

1.4.1 สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สินที่คู่สมรสทำมาหาได้ระว่างที่อยู่กินเป็นสามีภรรยากันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่าง สมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการยกให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรสและรวมทั้งทรัพย์สินที่ เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

1.4.2 สินส่วนตัว หมายถึงทรัพย์สินที่คูสมรสครอบครองก่อนทำการสมรส

1.5 ความสัมพันธ์ระหว่าบิดา มารดา และบุตร

1.5.1 บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาและเลี้ยงดูบิดามารดาที่ชราภาพเป็นการตอบแทน

1.5.2 บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบุตรและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

1.5.3 บิดา มารดา มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร ทำโทษเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน ให้ทำงานตามสมควรแก่ความสามารถ

1.5.4 บิดา มารด มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์

2. กฎหมายมรดก มีสาระสำคัญดังนี้

2.1 มรดก คือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบต่าง ๆ

2.2 ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก กฎหมายได้กำหนดไว้ 2 ประเภท ดังนี้

2.2.1 ทายาทผู้รับพินัยกรรม คือบุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกตามข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม

2.2.2 ทายาทโดยธรรม คือ บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย ในกรณีที่เจ้าของถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรสของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดานของผู้ตาย บิดามารดาของผู้ตาย เป็นต้น

2.3 การเสียสิทธิในกองมรดก ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

2.3.1 กฎหมายจำกัดมิให้รับมรดก

2.3.2 ถูกตัดมิให้รับมรดก โดยเจ้าของมรดกต้องกระทำ โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งระบุไว้ในข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม หรือโดยเป็นหนังสือมอบไว้แก่นายอำเภอ

2.3.3 โดยการสละมรดกโดยสมัครใจของทายาทโดยทำหนังสือมอบไว้แก่นายอำเภอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น